OB Ultrasound

OB ultrasound
Ref: OB-Gyn CMU : อจ.เฟื่องลดา

1. CRL: Crown-Rump length
ระยะที่ยาวที่สุดของตัวอ่อนหรือทารก โดยวัดความยาวจากยอดศีรษะ (crown) ถึงส่วนล่างสุดของสะโพก (rump) โดยไม่วัดรวมส่วนแขนขา (limbs) และถุงไข่แดง (yolk sac)
– ทำนายอายุครรภ์ได้ดี 6 -14 wk (แม่นยำที่สุด 6.5 – 10 wk
เทคนิค
– ภาพตามแนวยาวของทารก
– ขอบนอกของจุดสูงสุดของศีรษะทารก ถึงขอบนอกของจุดต่ำสุดของสะโพก
– ไม่ควรวัดรวมส่วนแขนขาและถุงไข่แดง

2. BPD: Biparietal diameter
วัดได้ตั้งแต่ไตรมาสที่สองเป็นต้นไป
– ทำนายอายุครรภ์ได้ดี 14-28 wk
*** วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของศีรษะจากขอบนอกด้านใกล้ ถึงขอบในของกระดูกด้านห่าง (outer-to-inner)
* ไม่วัดรวมความหนาของกะโหลกศีรษะด้านห่างหัวตรวจและหนังศีรษะ
เทคนิค
– ภาพตัดขวางของศีรษะทารก
– ovoid shape, เห็นเส้นแบ่งแนวกลางศีรษะสมมาตรกัน
– เห็น falx cerebri ในแนวหน้าหลัง
– thalamus 2 ข้าง มี third ventricle อยู่ในแนวกลาง
– cavum septum pellucidum ที่ 1/3 ห่างจาก frontal bone

3. HC: Head circumference
– ประเมิน GA ในช่วง 2nd และ 3rd trimester
*** วัดเส้นรอบวงโดยวาดเส้นรอบวงตามแนวขอบนอกของกระดูกกะโหลก โดยไม่วัดรวมหนังศีรษะ
– เส้นรอบวง = (เส้นผ่าศูนย์กลางแนวหน้าหลัง + เส้นผ่าศูนย์กลางแนวขวาง) x 1.57

4. AC: Abdominal circumference
– ประเมิน growth + น้ำหนักทารกในครรภ์
เทคนิค
– รูปร่างท้องกลม หรือค่อนข้างกลม
– กระดูกไขสันหลังอยู่ที่ตำแหน่ง 3 หรือ 9 นาฬิกา
– เห็นกระเพาะอาหารอยู่ทางซีกซ้ายของช่องท้อง
– เห็นแนวซี่โครง 2 ข้างสมมาตรกัน
– เห็นจุดที่ portal vein ซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันเป็นส่วนโค้งสั้นๆ
(หากเห็น portal vein เป็นท่อนยาว =เอียงหัวตรวจต่ำลงไปทางด้านหน้าชิดสะดือมากเกินไป จะทำให้ท้องมีรูปร่างรีเกิดความคลาดเคลื่อนในการวัดได้)
– เส้นรอบวง = (เส้นผ่าศูนย์กลางแนวหน้าหลัง + เส้นผ่าศูนย์กลางแนวขวาง) x 1.57

5. FL: Femur length
เทคนิค
– เห็นภาพกระดูกต้นขายาวตลอดแนวยาว
– ปรับหัวตรวจให้ตั้งฉากกับแนวยาวของกระดูกต้นขา
*** วัดจากจุดตรงกลางของขอบปลายสุดด้านหนึ่ง ไปยังจุดตรงกลางของขอบปลายสุดของกระดูกอีกด้านหนึ่ง

6. AFI: Amniotic fluid index
เทคนิค
# Single deepest pocket (SDP)
– เห็นตำแหน่งของแอ่งน้ำคร่ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
– วางหัวตรวจให้ขนานกับ sagittal plane ของมารดาโดย “ไม่กดหัวตรวจมากจนเกินไป”
– วัดระยะที่ลึกที่สุดของแอ่งน้ำคร่ำโดยไม่รวมสายสะดือและแขนขาของทารก
SDP < 2 cm.=oligohydramnios
SDP > 8 cm.=mild polyhydramnios
SDP > 12 cm.=moderate polyhydramnios
SDP > 16 cm.=severe polyhydramnios

# Amniotic fluid index (AFI)
– แบ่งมดลูกออกเป็น 4 ส่วนโดยใช้ linea nigra และสะดือมารดาเป็นเส้นแบ่ง
– เห็นตำแหน่งของแอ่งน้ำคร่ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของมดลูกแต่ละส่วน
– วางหัวตรวจให้ขนานกับ sagittal plane ของมารดาโดยไม่กดหัวตรวจมากจนเกินไป
– วัดระยะที่ลึกที่สุดของแอ่งน้ำคร่ำโดยไม่รวมสายสะดือและแขนขาของทารกจนครบทั้ง 4 ส่วน
AFI =Q1 + Q2 + Q3 + Q4
AFI < 5 cm.=oligohydramnios
AFI > 25 cm.=polyhydramnios

7. การคำนวณ GA
อายุครรภ์ 7 – 10 สัปดาห์ = CRL
อายุครรภ์ 10 – 14 สัปดาห์ = CRL, BPD, FL, HL (humerus length)
อายุครรภ์ 15 – 28 สัปดาห์ = BPD, FL, HL, HC, binocular distance
อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป = FL, HL, binocular distance, BPD, HC


ref: https://www.youtube.com/watch?v=yUKdf-HTD8M